วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

SIBERIAN HUSKY


สุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY มีถิ่นกำเนิดในไซบีเรียน สุนัขพันธุ์นี้ถูกคัดเลือกพันธุ์ขึ้นโดยชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า CHUKCHI เพื่อให้ทำหน้าที่ล่าสัตว์และเฝ้ายาม แต่ต่อมาถูกพัฒนาให้มีลักษณะของสุนัขลากเลื่อน ประมาณ คศ.1900 มีการแข่งขันสุนัขลากเลื่อน ALASKA โดยมีระยะทางถึง 400 ไมล์ สุนัขที่ชนะในการแข่งขันคือสุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY หลังจากนั้นกีฬาแข่งลูกสุนัขลากเลื่อนก็เป็นที่นิยมมากขึ้น สุนัขพันธุ์นี้ก็มักจะชนะอยู่เสมอ AKC. รับรองสุนัขพันธุ์นี้ในปี คศ.1930


มาตราฐานสายพันธุ์ อุปนิสัย : ฉลาดเป็นมิตร สุขุม สามารถทำงานร่วมกันเป็นฝูงได้


ส่วนหัว : มีขนาดปานกลางสมส่วนกับลำตัว หัวกะโหลกค่อนข้างกลม หัวกะโหลกระหว่างหูจะกว้าง และเรียวลงจรดตาทั้งสองข้าง


หู : มีขนาดปานกลางมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายหูมน ใบหูหนา มีขนแน่นหูตั้ง


ตา : มีลักษณะเป็นรูปกลมรี อยู่หางกันพอประมาณ ตามีสีน้ำตาลเข้ม


ดั้งจมูก : มีมุมหักพอประมาณ


ปาก : ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก ปากมีความกว้างพอประมาณ สันปากตรง โคนปากใหญ่ และเรียวลงจรดปลายจมูก ริมฝีปากตึง มีสีเข้ม


จมูก : มีสีดำ น้ำตาลเข้ม หรือชมพู


ฟัน : ขาวสะอาด แข็งแรง ขบแบบกรรไกร


ลำตัว : มีขนาดปานกลาง เส้นหลังตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมากกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย


คอ : มีความยาวปานกลาง มีลักษณะโค้ง ขณะเดิน หรือวิ่ง คอจะยืดไปข้างหน้า


ลำตัวส่วนหน้า : หัวไหล่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ แข็งแรง


อก : มีลักษณะแข็งแรง อกลึกจรดข้อศอก อกมีความกว้างพอประมาณ ไม่กว้างจนเกินไป


ขาหน้า : มองจากด้านหน้าขาหน้าทั้งสองข้างตรง ห่างกันพอเหมาะ มองจากด้านข้างข้อเท้าเอียงเล็กน้อย ท่อนขาตรง ความยาวของขาจากข้อศอกถึงพื้นจะมากกว่าความยาวจากข้อศอกถึงหัวไหล่เล็กน้อย เท้ามีลักษณะกลมรี นิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น


ขาหลัง : ท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีกำลังมาก ข้อเท้าหลังแข็งแรง มองจากเท้าหลัง ขาหลังทั้งสองข้างตั้งตรงขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ เท้ามีลักษณะกลมรีนิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น


หาง : มีขนเป็นพวง หางมักจะยกสูงโค้งเล็กน้อย หางไม่บิดเอียงไปทางซ้ายหรือขวา


ขน - สี : ขนมีสองชั้น ขนชั้นในนุ่ม ขนชั้นนอกแข็งแนบชิดผิวหนัง ขนมีหลายสี ตั้งแต่สีดำหรือขาวล้วน ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดปานกลาง


น้ำหนัก : เพศผู้หนักประมาณ 45 - 60 ปอนด์ เพศเมียหนักประมาณ 35 - 50 ปอนด์


ส่วนสูง : เพศผู้สูงประมาณ 21 - 23.5 นิ้ว เพศเมียสูงประมาณ 20 - 22 นิ้ว


การเดิน - วิ่ง : มีความสง่างาม เคลื่อนที่ได้เร็ว ขณะวิ่งเท้าไม่บิด หรือปัด


ข้อบกพร่อง : หูใหญ่ หูตก หางม้วนมาก

ปอมเมอเรเนียน




ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนนุ่มปุกปุย มีหัวเป็นรูปลิ่ม หูตั้งชี้ขึ้น บรรพบุรุษปอมเมอเรนียนย้อนกลับไปถึงยุคก่อนคริสตกาล พบภาพวาดในแผ่นหินและรูปหล่อสัมฤทธิ์ตามโลงศพที่พบในอียิปต์ พบโครงกระดูกสุนัขพันธุ์เล็กคล้ายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในอุโมงค์ที่บรรจุศพสมัยโบราณของชาวอียิปต์เชื่อกันว่า ปอมเมอเรเนียนได้รับการพัฒนาให้เป็นปอมเมอเรเนียนในปัจจุบันครั้งแรกที่เมืองปอมเมอเรเนีย ประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในยุโดรเหนือแถบทะเลบอลติก ดินแดนกว้างใหญ่จากตะวันตกของเกาะรูเกนถึงแม่น้ำวิทูลา ที่แห่งนี้มีการเลี้ยงสุนัขอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อให้เป็นสัตว์และเพื่อให้เป็นสุนัขอารักขา ปอมเมอเรเนียนมีต้นกำเนิดจากพันธุ์สปิทซ์ในสมัยโบราณ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมเมอเรเนียนพัฒนาจากสุนัขพันธุ์ซามอยด์ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศรัสเซียแถบไซบีเรีย บางคนเชื่อว่าพัฒนามาจากสุนัขป่า ซึ่งอาศัยอยู่ตามถ้ำในประเทศเยอรมัน และถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะในทวีปยุโรปตอนกลางและตอนล่าง นำมาพัฒนาในยุโรปเพื่อช่วยในการเลี้ยงแกะ ซึ่งบรรพบุรุษของปอมฯ น่าจะมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมฯ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีซ โดยอ้างหลักฐานจากภาพวาดสมัยโบราณหลายภาพที่มีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล หรือเกือบประมาณ 2500 ปีมาแล้ว มีภาพของสุนัขขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนสุนัขปอมฯ ในปัจจุบัน คือ Stop ที่เด่นชัด ช่วงปากแหลม หูสั้น ลักษณะการเดินและการแสดงออกเหมือนกับที่พบได้ในปัจจุบันทุกประการ ยกเว้นแต่ตำแหน่งของหางที่อยู่ต่ำเกินไปเท่านั้น แสดงว่าสุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กมากตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ไม่ใช่เพิ่งพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมาตามที่มีคนในประเทศอังกฤษอ้างเสมอ ประมาณปี 1800 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงมีความชื่นชอบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและส่งสุนัขของพระองค์ลงประกวด ทำให้เกิดความนิยมปอมเมอเรเนียนอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ และเพราะความที่พระองค์โปรดปรานสุนัขที่มีขนาดเล็ก ผู้เพาะพันธุ์หลายคนเริ่มที่จะคัดสุนัขที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันปอมฯ ที่เราเห็นอยู่มีขนาดที่เล็กลงจากปอมฯ ที่เป็นต้นตำรับ 4-5 ปอนด์ความฉลาดและความสามารถของปอมฯ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นพระเอกในคณะละครสัตว์อย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเยอรมัน นิยมเลี้ยงกันเป็นฝูง บางแห่งทำเป็นสุนัขลากเลื่อนก็มี ปอมฯ เข้าสู่อังกฤษช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น มีการตั้งชมรมคือ English Pomeranian Club ในปี 1891 ภายหลังสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงออกงานพร้อมสุนัขพันธุ์นี้บ่อยครั้ง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ส่วนในประเทศอเมริกามีการปรากฎตัวครั้งแรกของปอมเมอเรเนียนที่งานกระกวดสุนัขแห่งหนึ่งประมาณปี 1892 ไม่กี่ปีหลังจากนั้นมีการสั่งนำเข้าอีกเกือบ 200 ตัว มาตรฐานของปอมฯ โดยทั่วไป รูปรางจะเหมือนสุนัขจิ้งจอก มีขนาดกลาง ตาเป็นวงรีสีดำ หูเล็กตั้งตรง ลำตัวสั้นขนาดกระทัดรัด หางเป็นพวงแผ่อยู่บนส่วนหลัง



มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : ปอมฯ เป็นสุนัขขนาดเล็ก ลำตัวสั้นกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง

สัดส่วน : น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง

ศีรษะ : ขนาดของหัวต้องได้สัดส่วนกับลำตัว ช่วงปาก (MUZZLE) สั้นตรง หน้าดูคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก (FOXY EXPRESSION) หัวกะโหลกปิด ช่วงบนของหัวกะโหลกจะกลมเล็กน้อยแต่ไม่โหนกนูน ถ้ามองจากด้านหน้าและด้านข้างแล้วจะต้องเห็นหูที่มีขนาดเล็กอยู่ในตำแหน่งที่สูง (HIGH EARSET) และตั้งตรง รูปร่างปากจะมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม(WEDGE SHAPE) เส้นที่ลากจากจมูกไปถึงจุดหัก (STOP) จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้างและหูทั้งสองข้าง ตามีสีดำสนิท สดใส ขนาดปานกลาง คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (ALMOND SHAPE) สีของจมูกและขอบตาต้องดำสนิท ยกเว้นปอมฯ สีน้ำตาล BEAVER และ BLUE ฟันต้องกัดสบกันพอดี (SCISSORSBITE)

นิสัยและอารมณ์ : สุนัขปอมฯ เป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด

การเคลื่อนไหว : การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป

ขน : สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด

สี : สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่

1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)

2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย

3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง

4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี 4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว


จุดบกพร่อง :

1. กะโหลกกลม โหนกนูน ฟันล่างยื่น (UNDERSHOT MOUTH) หรือฟันบนยื่นจนเกินไป (OVERSHOT MOUTH)

2. ข้อเท้าราบกับพื้นมากเกินไป

3. ขาหลังที่หัวเข่าชิดกัน ปลายเท้าชี้ออก (COWHOCKS) หรือขาหลังที่บกพร่อง

4. ขนที่นิ่ม เหยียดตรงและแยกออกจนเห็นผิวหนังข้างใน (OPEN COAT)

ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก โรคระบาด วิกฤตคนกับเชื้อโรค

ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก โรคระบาด วิกฤตคนกับเชื้อโรค

การแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู (Swine influenza) เป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของสงครามระหว่างมนุษย์กับเชื้อโรค และเป็นการยืนยันความจริงที่ว่าโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำที่สำคัญและมีโอกาสคร่าชีวิตมนุษย์ ติดต่อได้กว้างขวาง เป็นโรคที่มาจากสัตว์สู่คนเกือบทั้งสิ้น แม้จะผ่านตัวกลาง เช่น ยุง ริ้น เห็บ หรือไม่ก็ตาม
ไข้หวัดหมู ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก
พัฒนาการของเชื้อโรคที่จะเข้าสู่คน แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 1.เชื้อโรคอยู่ในสัตว์และไม่เคยติดต่อมายังคน เช่น เชื้อมาลาเรียในลิง (Relchenowl malaria) 2.มีการติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่หยุดเพียงคนคนนั้น โดยไม่มีการแพร่จากคนสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าจากสุนัข 3.เริ่มมีการข้ามสายพันธุ์ โดยไวรัสจากสัตว์ชนิดหนึ่งถ่ายทอดไปยังสัตว์อีกชนิดและแพร่ไปยังคน เช่น โรคอีโบล่า (Ebola) ที่มีแหล่งรังโรคในค้างคาวแพร่ไปยังลิง และส่งต่อถึงคน โดยมีการติดต่อจากคนสู่คน แต่อยู่ในวงจำกัด เนื่องจากโรคมีความรุนแรงมากในคนและผู้ติดเชื้อเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วจนไม่สามารถส่งต่อไปคนอื่นๆ อีก 4.เชื้ออยู่ในสัตว์ได้หลายชนิด ขึ้นกับสภาวะภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง หรืออุดมสมบูรณ์ เช่น ไวรัสในตระกูลไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โดยอาจแฝงในลิงหรือสัตว์ขุดรูต่างๆ และมียุงเป็นพาหะกัดคน และเมื่อคนมีจำนวนไวรัสหรือเชื้อโรคมากขึ้น ก็จะถูกยุงกัด และนำเชื้อไปให้คนอื่นอีก ซึ่งเห็นได้ชัดในโรคไข้เลือดออก และเป็นสาเหตุให้ต้องพยามกำจัดยุงในบริเวณบ้านคนที่เป็นไข้เลือดออก 5.มีวิวัฒนาการในสัตว์จนสุกงอม และติดต่อไปยังคน และติดเชื้อในคนได้อย่างสมบูรณ์กระทั่งมีการติดต่อระหว่างคนสู่คนได้สำเร็จ ไม่ต้องอาศัยสัตว์อีกต่อไป เช่น โรคเอดส์จากเชื้อ HIV ที่มีต้นกำเนิดมาจากลิงสำหรับไข้หวัดหมู พัฒนาการอาจอยู่ในระดับที่ 5 ซึ่งต่อจากนี้จะมีการแพร่ระหว่างคนสู่คน แต่จะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นกับการปรับตัวของไข้หวัดหมูในมนุษย์ โดยโรคนี้พบตั้งแต่ ค.ศ.1918-1919 ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก แต่ผู้เสียชีวิตส่วนมากจะอายุ 20-40 ปี และตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งต่างจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป (Seasonal Flu) ที่เล่นงานเด็กเล็กและคนแก่เป็นส่วนมาก แต่คล้ายคลึงกับไข้หวัดหมูที่เราเผชิญอยู่ขณะนี้ ในช่วงนั้นมีการพบไข้หวัดในหมูเช่นกัน (J.S. Koen) และจวบจน ค.ศ.1930 จึงได้มีการแยกเชื้อได้ (Shope และ Davis) ไข้หวัดหมูยังเป็นหมูแท้ๆ อยู่อีก 80 ปี โดยไม่มีลูกผสมเป็น 3 เกลอ (พันธุกรรมหมู นก คน) ดังเช่นปัจจุบัน แต่ถึงกระนั้นก็ก่อให้เกิดโรคในคนอยู่เนืองๆ มากกว่า 50 ราย เช่น ในสหรัฐ 19 ราย เชโกสโลวะเกีย 6 ราย เนเธอร์แลนด์ 4 ราย รัสเซีย 3 ราย แคนาดาและฮ่องกงอีกแห่งละ 1 ราย โดยผู้ป่วย 61% มีประวัติสัมผัสหมูและมีอายุเฉลี่ย 24 ปี หลังจากนั้นใน ค.ศ.1974 ไข้หวัดหมู (ล้วน) มีการพัฒนาโดยเกิดโรคในค่ายทหาร (Fort Dix) ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (New Jersy) มีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยที่อีก 230 ราย ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่น้อยมาก ทั้งหมดนี้ไม่มีประวัติสัมผัสหมู ซึ่งแสดงว่าน่าจะมีการพัฒนาจนมีการติดต่อจากคนสู่คน การติดต่อในค่ายทหาร ทำให้มีการฉีดวัคซีนไข้หวัดหมูให้ประชาชนทั่วไป แต่พบว่าช่วงที่มีการฉีดวัคซีนมีผู้ป่วยเส้นประสาทอักเสบแขน ขาอัมพาต ทำให้ต้องล้มเลิกการใช้วัคซีน และข้อมูลสรุปของการเกิดอัมพาตอาจยังคลุมเคลือจนปัจจุบัน ใน ค.ศ.1988 มีผู้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต โดยมีประวัติสัมผัสหมูในรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) และเริ่มสงสัยว่าไข้หวัดหมูอาจไม่ใช่พันธุ์หมูล้วน (classic H1N1) จวบจน ค.ศ.1998 จึงได้มีการพิสูจน์พบว่า หมูเลี้ยงในสหรัฐ มีไวรัสไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ โดยมีพันธุกรรมผสมระหว่างหมู คน และนก เกิดสายพันธุ์ผสม (Triple assortant virus) H3N2, H1N2, และ H1N1 (วารสารโรคติดเชื้อ JID 2008) และสายพันธุ์ผสมนี้ยังพบได้ในเอเชีย และแคนาดาไข้หวัดหมูผสมสายพันธุ์ใหม่ พบได้ในประเทศสเปน (H1N1) เดือนพฤศจิกายน 2008 เป็นหญิงอายุ 50 ปี มีการไข้ ไอ เหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คันคอ และคันตา และหนาวสั่น ผู้ป่วยหายเองโดยไม่ต้องการการรักษาใดๆ โดยที่ผู้ป่วยทำงานในฟาร์มหมูและสัมผัสใกล้ชิดหมู ไม่มีคนใกล้ชิดในละแวกมีการติดเชื้อ ข้อสรุป ณ ขณะนั้น ยังไม่คิดว่าไข้หวัดหมูแม้เป็นสายพันธุ์ผสมแล้วจะมีอันตรายมากนัก (Eurosurveillance ฉบับ 19 กุมภาพันธ์ 2009) อย่างไรก็ดี เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดมาก่อนในรัฐวิสคอนซิน วันที่ 7 ธันวาคม 2005 ชายอายุ 17 ปี มีอาการไข้หวัดใหญ่ แต่หายเองใน 3-4 วัน มีการติดเชื้อไข้หวัดหมูลูกผสม H1N1 โดยผู้ป่วยไม่ได้มีการสัมผัสกับหมูหรือไก่ที่บริเวณบ้าน และในระหว่างช่วงเดียวกันมีรายงานการติดเชื้อลูกผสมในแคนาดาใน ค.ศ.2005 และ 2007เห็นได้ว่าไวรัสไข้หวัดหมูมีการพัฒนาตัวเองมาตลอด แต่สิ่งที่ยากคือ หมูที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องแสดงอาการเจ็บป่วยก็ถ่ายทอดเชื้อได้ สำหรับหมูในประเทศไทย ขณะนี้แม้จะมีเชื้อลูกผสมวนเวียนและไม่เป็นอันตรายอยู่ก็ตาม แต่ยังคงต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

ข้าวเกรียบน้ำพริกสมุนไพร



ข้าวเกรียบน้ำพริกสมุนไพร


ส่วนผสม
ข้าวเกรียบกุ้งหรือปลาตามชอบ จำนวนพอเหมาะ
น้ำพริกเผา (เลือกรสตามชอบ) ประมาณ 1/2 ถ้วย
ปลาฉิ้งฉ้าง 1/4 ถ้วย
หอมเล็กซอยบาง 1/4 ถ้วย
ตะไคร้ซอยบาง 1/4 ถ้วย
ใบมะกรูดซอยละเอียด 5-6 ใบ
น้ำมะนาวประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูบุบหรือซอย 5-8 เม็ด


วิธีทำ
หักปลาฉิ้งฉ้างเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับน้ำพริกเผาและส่วนผสมอื่น ๆ ทั้งหมด คลุกให้เข้ากัน ชิมรส แล้วจิ้มกินกับข้าวเกรียบ

หมูปิ้ง - น้ำจิ้มงา



หมูปิ้ง - น้ำจิ้มงา

ส่วนผสม
เนื้อหมู 1/2 กิโลกรัม
น้ำปลา 2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
แม๊กกี้ 2 ช้อนชา
เกลือป่น
1 ช้อนชา
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
หัวกะทิ 1/4 ถ้วย
พริกไทยเม็ด 2 ช้อนโต๊ะ
รากผักชี 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมปอก หั่นหยาบๆ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 1/2 ช้อนชา
น้ำมันงา 1/4 ถ้วย

วิธีทำ

1. หั่นหมูให้เป็นชิ้นหนาพอสมควร
2. นำเครื่องที่โขลกแล้ว (พริกไทยเม็ด รากผักชี และกระเทียม) ผสมกับส่วนผสมอื่นๆ รวมกัน ใส่หมูลงเคล้า หมักไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง
3. เมื่อหมูได้ที่แล้วนำไปเสียบไม้ นำไปปิ้งโดยใช้น้ำมันงาพรมตลอดจนกระทั่งสุก
4. จัดใส่จานเสิร์ฟกับน้ำจิ้ม

ส่วนผสมน้ำจิ้ม

หอมแดงเผา1/4 ถ้วย
กระเทียมเผา3 ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าเผา10 เม็ด
น้ำปลา1/4 ถ้วย
น้ำตาลทราย2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว3 ช้อนโต๊ะ
งาคั่ว2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำน้ำจิ้ม

1. โขลกหอมแดงเผา กระเทียมเผา พริกชี้ฟ้าเผาและงาคั่วให้ละเอียด
2. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทรายและน้ำมะนาว ชิมรสตามชอบ

มะกะโรนีผัดฉ่า



มะกะโรนีผัดฉ่า

ส่วนผสม

มะกะโรนี (ริกาโตนี) 2 ถ้วย
ปลากะพง ปลาเก๋า หรือปลาแซลมอน
หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 200 กรัม
น้ำมันมะกอกสำหรับทอดปลา และผัดประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสับละเอียด 2 เม็ด
กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าใหญ่ 2 ช้อนโต๊ะ
เม็ดพริกไทยสดทั้งเม็ด และหั่นเป็นท่อนสั้นประมาณ 3 ช่อ
ใบโหะระพา 1/4 ถ้วย
น้ำปลา 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 2 ช้อนชา
วิธีทำ

ต้มริกาโตนีให้สุก เหนียว นุ่ม (อ่านคำแนะนำจากข้างซอง) พักไว้
ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อยพอร้อน นำปลาลงนาบให้พอสุก ตักขึ้นพักไว้
ใส่กระเทียม พริกสับละเอียด กระเทียมชิ้นใหญ่ และเม็ดพริกไทย ลงผัดจนมีกลิ่นหอม ใส่ริกาโตนีที่ต้มสุกแล้วลงผัดให้เข้ากัน (อาจเติมน้ำสะอาดได้นิดหน่อย)
ใส่ปลาที่ทอดแล้วลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ผัดให้เข้ากันอย่างรวดเร็ว แต่เบามือ ใส่ใบโหระพา ผัดให้สุกสักครู่ แล้วตักขึ้นทันที

หมูผัดพริกขิงถั่วฝักยาว


หมูผัดพริกขิงถั่วฝักยาว



เครื่องปรุง


หมูสามชั้น 200 กรัม
ถั่วฝักยาว 300 กรัม
น้ำพริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูด 5 ใบ
น้ำตาลทราย 1 ½ ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนชา
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. นำถั่วฝักยาวมาตัดหัวตัดท้ายออก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆ
2. นำเข้าไมโครเวฟ (หรือลวกในน้ำเดือด) ประมาณ 2 นาที แล้วนำมาแช่ในน้ำเย็นจัด จากนั้นจึงสะเด็ดน้ำและพักไว้
3. นำเนื้อหมูสามชั้นมาล้างน้ำให้สะอาด ซับน้ำให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ
4. นำใบมะกรูดมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำ ฉีกเส้นกลางใบออกแล้วซอยให้เป็นฝอย
5. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันเริ่มร้อนให้นำน้ำพริกแกงเผ็ดลงไปผัดจนหอมและแตกมัน จากนั้นจึงใส่เนื้อหมูลงไป
6. ผัดจนเนื้อหมูเริ่มสุกก็ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล แล้วผัดให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน
7. ใส่ถั่วฝักยาวลงไป ผัดเร็วๆ ให้ทั่ว จากนั้นจึงใส่ใบมะกรูดหั่นฝอยลงไป ผัดต่ออีก 30 วินาทีพอให้เข้ากันดีก็ปิดเตาและยกลงได้
8. ตักหมูผัดพริกขิงถั่วฝักยาวใส่จาน โรยด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย จากนั้นก็ยกเสริฟได้เลย


Tip: การทำให้ถั่วฝักยาวสุกพอสุกและแช่น้ำเย็นไว้ซักพักนั้นจะทำให้ถั่วฝักยาวสดกรอบ ไม่เหม็นเขียวและนิ่มเมื่อผัดเสร็จแล้ว